- ฮุนได มอเตอร์ จะจัดแสดงแบบจำลองขนาด 1:8 ของการสัญจรทางอากาศในเมือง (UAM) ยานพาหนะที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ (PBV) และศูนย์รวมการเดินทางครบวงจร (Hub) ที่บริเวณ ล๊อบบี้สำนักงานใหญ่จนถึงวันที่ 12 มิถุนายน หลังจากนั้นจะนำไปจัดแสดงที่งานนิทรรศการระดับโลก
- แบบจำลองนี้เป็นแบบที่ได้จัดแสดงในงาน CES 2020 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ยานยนต์อนาคตของฮุนได ตอกย้ำความมุ่งมั่นเพื่อเป็นผู้ให้บริการด้านยานยนต์อัจฉริยะ
- ฮุนไดได้สร้างระบบการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ภารกิจยานยนต์อัจฉริยะประสพความสำเร็จ
บริษัท ฮุนได มอเตอร์ จำกัด จะจัดแสดงผลงานระบบคมนาคมอัจฉริยะที่บริเวณล๊อบบี้สำนักงานใหญ่ไปจนถึงวันที่ 12 มิถุนายน และหลังจากนั้นจะนำไปจัดแสดงที่งานนิทรรศการระดับโลกต่อไป ทั้งนี้เพื่อสื่อให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ด้านยานยนต์อัจฉริยะในอนาคตของฮุนได
แบบจำลองอัตราส่วน1:8 ที่นำมาจัดแสดงนี้ เป็นแบบจำลองที่จัดแสดงในงาน CES 2020 ซึ่งประกอบไปด้วยการสัญจรทางอากาศในเมือง (UAM), ยานพาหนะที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ (PBV) และศูนย์รวมการเดินทางครบวงจร (Hub) ซึ่งการคมนาคมอัจฉริยะนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบภูมิทัศน์ของเมืองแห่งอนาคตที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง
นิทรรศการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานฮุนไดและผู้เข้าชมอื่นๆ ผ่านการแสดงวิสัยทัศน์ด้านยานยนต์อัจฉริยะในอนาคตของบริษัทในฐานะที่ได้ตั้งเป้าหมายในการเป็นผู้ให้บริการด้านยานยนต์อัจฉริยะที่ครอบคลุมทุกรูปแบบ และหลังจากที่การจัดแสดงสิ้นสุดลงในวันที่ 12 มิถุนายน แบบจำลองจะถูกนำมาจัดแสดงตามนิทรรศการที่สำคัญทั่วโลกต่อไป
“หน่วยงานการสัญจรทางอากาศในเมือง (UAM) เป็นผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีที่จำเป็นและมุ่งมั่นที่จะนำเสนอการสัญจรทางอากาศในเมือง ซึ่งเป็นความใฝ่ฝันของใครหลายๆคนมานานหลายทศวรรษ” มร. ไจวอน ชิน รองประธานบริหารและหัวหน้าแผนกการสัญจรทางอากาศในเมือง (UAM) กล่าว
“ยานพาหนะทางอากาศส่วนบุคคลต้นแบบ S-A1 ที่จัดแสดงในครั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความทุ่มเทของพวกเราเพื่อนำระบบการสัญจรทางอากาศในเมือง (UAM) มาใช้เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ”
แบบจำลองนี้แสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของฮุนไดในด้านระบบการคมนาคมอัจฉริยะในเมืองในอนาคต การบินสัญจรทางอากาศในเมือง (UAM) จะแสดงผ่านการเอียงของใบพัดทำให้สามารถบินขึ้นและลงจอดในแนวตั้งและบินวนในแนวนอนได้ และในส่วนของบนพื้น ยานพาหนะที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ (PBV) จะวิ่งอยู่บนถนนและรอบศูนย์รวมการเดินทางครบวงจร (Hub) และกลายเป็นส่วนหนึ่งของอาคารเมื่อเชื่อมต่อกับสถานีเทียบท่า ศูนย์ ฯ แห่งนี้ไม่เพียงแต่เป็นพื้นที่ที่เชื่อมต่อการสัญจรทางอากาศในเมือง (UAM) และยานพาหนะที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ (PBV) แต่ยังเป็นศูนย์ที่มีแนวคิดที่เชื่อมต่อผู้คน สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของฮุนไดที่ช่วยให้ผู้คนมีเวลาที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็มอบอิสระในการเดินทางและโอกาสในการเพลิดเพลินกับประสบการณ์ที่หลากหลาย
นอกจากนี้ยังได้ติดตั้งกระจกที่ด้านบนเพดานของพื้นที่จัดแสดง เพื่อมอบประสบการณ์การรับชมที่สมจริงจากหลากหลายมุมมอง วีดีโอของเมืองแห่งอนาคตได้รับการปรับเปลี่ยนผ่านการคมนาคมอัจฉริยะจะถูกจัดแสดงบนจอภาพขนาดใหญ่ที่ติดตั้งอยู่บนกำแพงที่ติดกัน
“สำหรับยานยนต์อัจฉริยะนี้ เราได้คำนึงถึงสิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นในเมืองและชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คน ซึ่งการสัญจรทางอากาศในเมือง (UAM) ยานพาหนะที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ (PBV) และศูนย์รวมการเดินทางครบวงจร (Hub) จะช่วยฟื้นฟูเมืองด้วยการกำจัดขอบเขตของเมือง ให้เวลาผู้คนในการตามเป้าหมายของตัวเองและสร้างชุมชมที่หลากหลาย เป้าหมายของพวกเราคือการช่วยสร้างมิติเมืองในอนาคตที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลางและยังคงสืบทอดความก้าวหน้าเพื่อมวลชนต่อไป งานแสดง CES 2020 เป็นเพียงการเริ่มต้นและเราจะยังคงตระหนักถึงวิสัยทัศน์นี้ต่อไป” มร.อิวซัน ชุง รองประธานบริหารฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป กล่าวในงาน CES เมื่อปีที่ผ่านมา
เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ของการคมนาคมอัจฉริยะ ฮุนไดได้เพิ่มทีมงานพิเศษเพื่อทุ่มเทให้กับการออกแบบการสัญจรทางอากาศในเมือง (UAM) และเพิ่มความร่วมมือระหว่างหน่วยงานสัญจรทางอากาศในเมือง ศูนย์การออกแบบ และฝ่ายกลยุทธ์และเทคโนโลยี