นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤษภาคม 2563 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 40,418 คัน ลดลง 54.1% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 11,733 คัน ลดลง 65.1% รถเพื่อการพาณิชย์ 28,685 คัน ลดลง 47.4% ขณะที่ รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 23,137 คัน ลดลง 47.5%
ตลาดรถยนต์เดือนพฤษภาคมมีปริมาณการขาย 40,418 คัน ลดลง 54.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 65.1% และตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 47.4% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าสถานการณ์การขายของเดือนพฤษภาคม มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากเดือนเมษายนที่ผ่านมา สืบเนื่องจากการที่รัฐบาลได้ทยอยประกาศผ่อนปรนมาตรการควบคุมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ทำให้บางธุรกิจที่ได้รับการผ่อนปรนเริ่มทยอยกลับมาดำเนินงาน ซึ่งส่งผลในเชิงบวกให้กับตลาดรถยนต์ อย่างไรก็ตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ยังคงอยู่ในช่วงของการค่อยๆฟื้นตัว ทำให้ผู้บริโภคยังมีความระมัดระวังการใช้จ่ายอยู่ รวมถึงภาครัฐฯยังได้ออกมาตรการดูแลและเยียวยาเพื่อช่วยเหลือประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้ด้วย
ส่วนตลาดรถยนต์สะสม 5 เดือน มีปริมาณการขาย 270,591 คัน ลดลง 38.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 42.2% ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 35.6% เป็นผลกระทบมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ไม่เพียงแต่ตลาดรถยนต์ไทย แต่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศและทั่วโลกต่อเนื่องกัน 5 เดือน
สำหรับเดือนมิถุนายนนี้ จากการที่ภาครัฐฯ ได้ดำเนินการผ่อนคลายให้ธุรกิจสามารถกลับมาดำเนินการได้ในระยะที่ 3 และการควบคุมสถานการณ์เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ไม่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศ และได้มีการคลายล็อกระยะที่ 4 มีผลบังคับใช้วันที่ 15 มิถุนายน โดยให้กิจการและกิจกรรมอีกหลายประเภทกลับมาดำเนินธุรกิจได้ภายใต้มาตรการที่ภาครัฐกำหนดเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน และเศรษฐกิจไทยเดินหน้าต่อไปได้ อย่างไรก็ตามประชาชนยังต้องเฝ้าระวัง และป้องกันการใช้ชีวิตตามมาตรการความปลอดภัยเพื่อป้องกันการเกิดการแพร่ระบาดรอบ 2 ดังนั้นแนวโน้มของตลาดรถยนต์ในเดือนมิถุนายนจะมีทิศทางที่ดีขึ้นต่อเนื่อง
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤษภาคม 2563
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 40,418 คัน ลดลง 54.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 13,611 คัน | ลดลง 53.7% | ส่วนแบ่งตลาด 33.7% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 10,130 คัน | ลดลง 35.3% | ส่วนแบ่งตลาด 25.1% |
อันดับที่ 3 ฮอนด้า | 4,178 คัน | ลดลง 62.8% | ส่วนแบ่งตลาด 10.3% |
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 11,733 คัน ลดลง 65.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 3,557 คัน | ลดลง 62.9% | ส่วนแบ่งตลาด 30.3% |
อันดับที่ 2 ฮอนด้า | 3,514 คัน | ลดลง 59.2% | ส่วนแบ่งตลาด 29.9% |
อันดับที่ 3 ซูซูกิ | 1,218 คัน | ลดลง 37.3% | ส่วนแบ่งตลาด 10.4% |
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 28,685 คัน ลดลง 47.4%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 10,130 คัน | ลดลง 35.3% | ส่วนแบ่งตลาด 35.3% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 10,054 คัน | ลดลง 49.2% | ส่วนแบ่งตลาด 35.0% |
อันดับที่ 3 ฟอร์ด | 1,823 คัน | ลดลง 50.9% | ส่วนแบ่งตลาด 6.4% |
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 23,137 คัน ลดลง 47.5%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 9,318 คัน | ลดลง 34.7% | ส่วนแบ่งตลาด 40.3% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 9,138 คัน | ลดลง 48.2% | ส่วนแบ่งตลาด 39.5% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 1,823 คัน | ลดลง 50.9% | ส่วนแบ่งตลาด 7.9% |
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 2,570 คัน
โตโยต้า 1,308 คัน- มิตซูบิชิ 420 คัน - อีซูซุ 363 - คัน- ฟอร์ด 277 คัน - นิสสัน 181 คัน - เชฟโรเลต 21 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 20,567 คัน ลดลง 46.8%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 8,955 คัน | ลดลง 32.5% | ส่วนแบ่งตลาด 43.5% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 7,830 คัน | ลดลง 48.4% | ส่วนแบ่งตลาด 38.1% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 1,403 คัน | ลดลง 48.2% | ส่วนแบ่งตลาด 6.8% |
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2563
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 270,591 คัน ลดลง 38.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 80,856 คัน | ลดลง 43.3% | ส่วนแบ่งตลาด 29.9% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 59,393 คัน | ลดลง 21.8% | ส่วนแบ่งตลาด 21.9% |
อันดับที่ 3 ฮอนด้า | 35,504 คัน | ลดลง 32.4% | ส่วนแบ่งตลาด 13.1% |
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 98,948 คัน ลดลง 42.2%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า | 29,702 คัน | ลดลง 25.3% | ส่วนแบ่งตลาด 30.0% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 25,124 คัน | ลดลง 50.4% | ส่วนแบ่งตลาด 25.4% |
อันดับที่ 3 นิสสัน | 10,908 คัน | ลดลง 34.5% | ส่วนแบ่งตลาด 11.0% |
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 171,643 คัน ลดลง 35.6%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 59,393 คัน | ลดลง 21.8% | ส่วนแบ่งตลาด 34.6% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 55,732 คัน | ลดลง 39.4% | ส่วนแบ่งตลาด 32.5% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 12,854 คัน | ลดลง 39.5% | ส่วนแบ่งตลาด 7.5% |
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 136,833 คัน ลดลง 37.2%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 55,205 คัน | ลดลง 21.3% | ส่วนแบ่งตลาด 40.3% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 48,890 คัน | ลดลง 40.4% | ส่วนแบ่งตลาด 35.7% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 12,854 คัน | ลดลง 39.5% | ส่วนแบ่งตลาด 9.4% |
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 13,985 คัน
โตโยต้า 5,381 คัน – มิตซูบิชิ 3,265 คัน – อีซูซุ 2,448 คัน – ฟอร์ด 1,786 คัน – นิสสัน 495 คัน –เชฟโรเลต 610 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 122,848 คัน ลดลง 35.4%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 52,757 คัน | ลดลง 19.2% | ส่วนแบ่งตลาด 42.9% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 43,509 คัน | ลดลง 37.8% | ส่วนแบ่งตลาด 35.4% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 9,589 คัน | ลดลง 38.1% | ส่วนแบ่งตลาด 7.8% |